หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ตาสัง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูล
หน่วยงาน
ข้อมูล
หน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารงาน
ทรัพยากรบุคคล
การบริหารงาน
ทรัพยากรบุคคล
การป้องกัน
การทุจริต
การป้องกัน
การทุจริต
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการ
ประชาชน
บริการ
ประชาชน
การจัดการ
องค์ความรู้ (KM)
การจัดการ
องค์ความรู้ (KM)
ที่ทำการ อบต.ตาสัง
ดงแม่นางเมือง
คณะผู้บริหาร อบต.ตาสัง
อบต.ตาสัง
อำเภอบรรพตพิสัย
จังหวัดนครสวรรค์
1
2
3
 
  
 
 
อยากให้อนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรม ของชาวไทยทรงดำ(ลาวซ่ง)
ผมพอทราบมาว่าทางพื้นที่อบต.ตำบลตาสัง มีหลากหลาย เช่นคนไทยทรงดำ ซึ่งมีเอกลักษณ์ของของเขาโดยเฉพาะทั้ง ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของเขาจะมีโดยเฉพาะ ผมอยากให้ทางทีมงานบริหารกำหนดเข้าไปในแผนพัฒนา เอาจุดเด่นของไทยทรงดำมาเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว และอนุรักษ์ดว้ย ช่วงสงกรานค์นี้จัดเป็นงานสืบสานวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำก็ได้น่ะ ผมว่าทางอบต.ตาสังนี่ยังมีจุดขายอีกมากมายครับผมอยากให้ทีมบริหารเอาออกมาโชว์ให้มากกว่านี้ครับ อยากให้ทางทีมงานทาง admin master  เอารูปของไทยทรงดำมานำเสนอบ้างก็จะดีน่ะครับ และอีกอยางอยากให้ชาวไทยทรงดำที่ได้อ่านหรือเข้ามาชมที่นี่ก็ควรเสนอแนะดว้ยน่ะครับ แล้ววันหลังจะนำรูปของชาวไทยทรงดำมาให้ดูครับ

เขียนโดย   คุณ จาก คนรักถิ่นเกิด
วันที่ 30 ธ.ค. 2552 เวลา 02.36 น. [ IP : 111.84.53.101 ]
ผมก็ตั้งกระทู้มาก็ตั้งหลายวันไม่เห้นนายกมาแสดงความคิดเห็นเลยแม้กระทั้งรองนายกทั้งสองไม่มีความคิดเห็นเลยเหรอ คำแนะนำหรือคำติชมผุ้บริหารควรจะต้องมีปฏิกิริยาตอบบ้างน่ะครับ ผู้บริหารควรนอ้มรับคำติชมและกระทู้ข้อเสนอแนะจะทำหรือไม่ทำอยู่ที่ท่านทั้งคณะผู้บริหาร ถ้าท่านไม่ตอบทุกกระทู้ก็ไม่แตกประเด็นความคิดเห็นก็จะไม่เกิดประโยชน์เหมือนกับกระทู้นอนตายแห้ง แล้วใครจะมาตั้งกระทู้ทำไม? ถ้าท่านตอบก็จะมีคนอื่นเข้ามาออกความเห็น ผมสังเกตดูไม่เห็นผู้บริหารออกความเห็นเลยสักกระทู้ หรือว่าทีมงานทำเวบไม่ได้รายงานแต่ไม่น่าเป็นไปได้น่ะ ที่ผมเขียนมาก็เพื่ออยากให้ทีมงานบริหารออกมายอมรับคำติชมและข้อเสนอแนะ จะทำหรือไม่ทำอีกเรื่องครับเพียงแต่ให้ทีมบริหารเข้ามารับรู้กระทู้แล้วตอบ  คนอื่นเข้ามาเขาจะเห็นวิสัยทัศน์ท่านเองครับ จะทำหรือไม่ทำอยู่ที่ทีมงานท่านครับ ควรมิควรแล้วแต่จะพิจราณาครับ  ( รูปกิจกรรมไทยทรงดำผมจะเอามาลงวันหลังครับ)

เขียนโดย   คุณ คนรักถิ่นเกิด
วันที่ 6 ม.ค. 2553 เวลา 02.33 น. [ IP : 115.67.129.232 ]
ขอบคุณมากค่ะ ที่ตั้งกระทู้มานั้นน่าสนใจมากนะคะ ขณะนี้กำลังดำเนินการติดต่อประสานงานกับผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้ และภาพกิจกรรมของไทยทรงดำอยู่ค่ะ



เขียนโดย   คุณ อนีวรา
วันที่ 7 ม.ค. 2553 เวลา 15.43 น. [ IP : 118.175.206.47 ]



เรื่องราวจาวไตโซ่ง ในดินแดนสยาม


                                                                                         โดยถวิล  เกษรราช
คำว่า โซ่ง มีหลักฐานปรากฏในหนังสือ ประวัติผู้ไทย หรือ ชาวผู้ไทย ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองแถน หรือเมืองแถง ให้ไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี รวม 3 ครั้งด้วยกัน คือ
ครั้งที่ 1 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ พ.ศ.2322 (บางหลักฐานอ้าง พ.ศ.2321) ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 (หน้า 38-40) ความว่า “ในจุลศักราช 1141 ปีกุน เอกศก (พ.ศ.2322) พระยาเดโช(แทน) พระยาแสนท้องฟ้า ผู้น้อง อพยพครอบครัวหนีไปอยู่เมืองญวน กองทัพสมเด็จพระมหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช ตีเมืองล้านช้างได้แล้วให้เก็บสิ่งของปืนใหญ่น้อย ครอบครับเข้ามา ณ เมืองพันพร้าว และให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ ญวนเรียกว่าเมืองซือหงี เมืองม่วย สองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) อยู่ริมเขตแดนเมืองญวน ได้ครอบครัวลาวทรงดำลงมาเป็นอันมาก พาครอบครัวลาวเวียง ลาวทรงดำลงมาถึงกรุงในเดือนยี่ ปีกุน เอกศก(พ.ศ.2322) นั้น ลาวทรงดำนั้นโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่เพชรบุรี ลาวเวียง ลาวหัวเมืองฟากโขงตะวันออกก็โปรดให้ไปตั้งบ้านเมืองอยู่สระบุรี เมืองราชบุรีบ้าง ตามหัวเมืองตะวันตกบ้าง อยู่เมืองจันทบุรีบ้าง ก็มีเชื้อสายมาจนทุกวันนี้
ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2379และพ.ศ.2381 ทั้งสองคราวนี้มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง (หน้า 253-254) ความว่า “ครั้งศักราช 1197 ปีมะแม สัปตศก (พ.ศ.2378) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์(สมบุญ)เป็นแม่ทัพคุมพลทหารยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองหลวงพระบางแล้วแต่งให้เจ้าราชไภยอุปราชท้าวพระยา คุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองพวน แต่งให้เจ้าอุ่นแก้วน้องเจ้าอุปราช เจ้าสัญไชยบุตรเจ้าอุปราชนาคที่ 7 เจ้าแก่นคำบุตรเจ้าหอหน้า อภัยที่ 2 เจ้าคำปานบุตรเจ้าม้งที่ 1 ท้าวพระยา ยกกองทัพขึ้นตีเมืองแถน จับได้ลาวพวน ลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) ส่งลงมากรุงเทพฯ เจ้าเมืองธาตุ เจ้าเมืองหลวงพระบางครองเมืองได้ 20 ปี รวมอายุ 64 ปี ก็ถึงแก่กรรม
ศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก (พ.ศ.2379) เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ มีศุภอักษรแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วคุมดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงมา ณ กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า เจ้าอุปราชหรือเจ้าราชวงศ์ คงจะตั้งเป็นเจ้าเมืองหลวงพระบางคนหนึ่ง จึงโปรดตั้งเจ้าอุ่นแก้ว บุตรเจ้านครหลวงพระบางอนุรุธที่ 5 เป็นเจ้าน้องอุปราชราชไภย เป็นที่ราชวงศ์ ขึ้นไปรักษาบ้านเมือง ครั้นเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ ปลงศพเจ้าเมืองหลวงพระบางเสร็จแล้ว พวกเมืองหึม เมืองคอย เมืองควร ตั้งขัดแข็งต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ แต่งให้ท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีจับได้ลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) แต่งให้พระยาศรีมหานาม คุมลงมา ณ กรุงเทพ ฯ ครั้งหนึ่ง
ศักราช 1200 ปีจอ สัมฤทธิศก (พ.ศ.2381) เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์มีความวิวาทกันลงมากรุงเทพ ฯ
อีกครั้งหนึ่ง ลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) ที่ถูกกวาดต้อนอพยพลงมาที่กรุงเทพ ฯ ทั้งสามคราวดังกล่าวนี้ ได้พบหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรี ซึ่งเดิมได้มีการอพยพผู้ไทยดำไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ก่อนแล้ว ผู้ไทยดำ ที่เมืองเพชรบุรี เรียกว่า ลาวซ่ง


ถามว่า  เพราะเหตุใดไทยจึงต้องอพยพชาวไทยดำ


ตอบว่า ในแว่นแคว้นสิบสองจุไทย เป็นดินแดนปลายสุดของพระราชอาณาเขตสยาม เคยถูกพวกจีนฮ่อยกรี้พลเข้ามาปล้นฆ่า เผาบ้านเมืองราษฎรราบเรียบ อนึ่ง แคว้นสิบสองจุไทยเป็นดินแดนผ่าน เวลาจีนยกพหลโยธา มาปราบญวน ก็ต้องผ่านดินแดนสิบสองจุไทย ญวนไปรบจีนบางครั้งก็ต้องผ่านปะทะกันในดินแดนนี้ ไทยดำผู้เป็นเจ้าของถิ่น ก็ต้องพลอยเดือดร้อนไปกับเขาด้วย ในพื้นที่บางแห่งราษฎรเข้าไปทำมาหากินในเขตแดนจีนก็มี ในดินแดนของญวนก็มี ในดินแดนลาวก็มี ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งสามฝ่ายและต้องส่งส่วยให้ทั้งสามฝ่ายด้วย จนได้ชื่อว่า เมืองสามฝ่ายฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงห่วงใย เล็งเห็นความทุกข์ยากของไทยดำเป็นอย่างมาก ฉะนั้นเมื่อทรงแต่งกองทัพขึ้นไปปราบยุคเข็ญครั้งใด ก็โปรดให้กวาดต้อนครอบครัวราษฎรไทยทรงดำลงมาด้วยทุกครั้ง ชาวไทยดำให้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยอย่างสงบสุข ปลอดภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหงจากศัตรูนั่นเอง เมืองวัง เมืองพิน เมืองนอน เมืองเชียงรม และเมืองผาบัง เหล่านี้ อยู่ใกล้ชายแดนญวน ญวนจึงพยายามแผ่อิทธิพลเข้าหวังยึดเอาเมืองเหล่านั้นเป็นคลังเสบียง เพราะฉะนั้นไทยอพยพราษฎรเสียแล้วจึงจุดไฟเผาบ้านเรือนเสียสิ้น มิให้ตั้งเป็นบ้านเมืองได้อีกต่อไป


ถามว่า ในดินแดนแว่นแคว้นสิบสองจุไทย นอกจากพี่น้องเผ่าไทยแล้ว ยังมีชนเผ่าเชื้อชาติอื่นๆ อีกหลายเผ่า เช่น แม้ว เย้า ยาง โล่โล และข่า อีกมากมายหลายเผ่า เหตุใด ไทยจึงไม่กวาดต้อนชนเผ่าต่างๆ เหล่านั้นบ้าง
ตอบว่า เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่คนไทย เราต้องการอพยพพวกพี่น้องชาวไทยดำที่น่าสงสารเหล่านั้นให้มาอยู่ในแผ่นดินที่มีอธิปไตย เป็นการรวมพี่รวมน้องให้มาอยู่ในพื้นปฐพีอันเดียวกันให้ได้รับการคุ้มครองป้องกันอันตรายจากศัตรูภายนอกอย่างทั่วถึงกัน สังคมของไทยก็ต้อนรับด้วยความยินดี มีสิทธิ์เหมือนกับคนไทยทุกประการ นับว่าเป็นโชคดีของพี่น้องชาวไทยดำรุ่นก่อนอย่างประเสริฐสุดเหลือหลายที่ไม่ต้องอพยพหลบลี้หนีภัยอีกต่อไป


เมืองแถน หรือ เมืองเดียนเบียนฟู
เมืองแถน หรือ เมืองแถง ในสมัยนั้นเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไทย ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟู ในประเทศเวียดนามภาคเหนือ อนึ่งแคว้นสิบสองจุไทยนี้ อยู่ในราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ.1800) เพิ่งจะมาเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2431 ดังข้อความที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยว่า “ในปี พ.ศ.2431 พวกฮ่อซึ่งแตกมาจากประเทศจีน เกิดจลาจลขึ้น ไทยและฝรั่งเศสต่างยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อปราบจลาจลราบคาบแล้ว ฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออกจากแคว้นสิบสองจุไทย ไทยเจรจาแล้วฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออก ไทยจึงเสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้แก่ฝรั่งเศส พึงทราบว่าเมืองสิบสองจุไทย หรือเมืองสิบสองผู้ไทย นั้น คือ เมืองผู้ไทยขาว 1 เมืองผู้ไทยดำ 1 เมืองผู้ไทยขาวอยู่นั้น คือ เมืองไล 1 เมืองเจียน 1 เมืองมุน 1 เมืองบาง 1 ส่วนเมืองผู้ไทยดำอยู่นั้น คือ เมืองแถง 1 เมืองควาย 1 เมืองดุง 1 เมืองม่วย 1 เมืองลา 1 เมืองโมะ 1 เมืองหวัด 1 เมืองซาง 1 รวมเมืองของผู้ไทยขาวและผู้ไทยดำ มี 12 เมือง จึงเรียกว่า เมืองสิบสองผู้ไทย แต่บัดนี้เรียกว่า สิบสองจุไทย (ประวัติผู้ไทย หน้า 70-71 โดย ถวิล เกษรราช)
    เมืองแถง ซึ่งเป็นเมือง1 ในสิบสองจุไทยปัจจุบันนี้ มีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส ว่า เดียนเบียนฟู อยู่ในเขตไลเจา คำว่าไลเจา เป็นภาษาไทยแกว ไทยลานนา เรียกว่า เมืองไหล หรือ หลายจ้าว แต่เดิมประมุขของเขาเรียกชื่อว่า จ้าวแผ่นคำ ทำนองเจ้าฟ้าในแคว้นไทยภาคเหนือประเทศพม่า เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง เจ้าฟ้าเชียงฮุ้ง เป็นต้น
            คำว่า เจ้าแผ่นคำ หรือ จ้าวแผ่นคำ หรือ จ้าวฟ้า เป็นภาษาไทยเดิม ซึ่งเดิมพุทธศาสนาไปไม่ถึง ฝ่ายใต้มีศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ไทยฝ่ายใต้นิยมยกย่องบาลีสันสกฤตว่าเป็นคำชั้นสูง จึงทิ้งคำว่า “จ้าวแผ่นคำ เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน” เปลี่ยนมาใช้ “กษัตริย์” แทน เมืองไหล หรือไลเจา นี้ บางท่านสันนิษฐานว่ามาจากคำ “หลายเจ้า” คือ เมืองไลอยู่ติดกับเขตจีน เขตญวนและเขตลาว สมัยก่อนต้องส่งส่วยแก่ทั้งสามประเทศ คือ เวลาจีนเข้ามาก็ยอมเป็นข้าจีน เมื่อญวนขึ้นมาก็ยอมขึ้นแก่ญวน เมื่อลาวยกไปก็อ่อนน้อมต่อลาว เป็นเช่นนี้เรื่อยมา จึงเรียกว่า เมืองหลายเจ้า ต่อมาก็เรียกเป็นเมืองไลบ้าง เมืองไลเจา หรือเมืองไล บางท่านว่า เมืองไร่จ้าว กลายมาเป็นเมืองไลเลาตามภาษาญวน
เมืองไลเจา ในปัจจุบันนี้มีพื้นที่ใหญ่กว่าจังหวัดนครปฐมเสียอีก ถ้าจะเปรียบง่ายๆ เมืองแถงมีชาวโซ่งอาศัยอยู่ 3 หมู่บ้าน จำนวนไม่เกิน 1,000 คน เหมือนหมู่บ้านเกาะแรต อยู่เขตจังหวัดนครปฐมมีจำนวนคนเท่าใด ก็เทียบเอาเองก็แล้วกัน เมืองแถง หรือ เมืองเดียนเบียนฟู นั้นอยู่ในพื้นที่เป็นหุบเขาสูงเคยเป็นสนามรบ เมื่อครั้งท่านโฮจิมินห์ นำทหารเวียดนาเข้าไปทำลายค่ายของฝรั่งเศสและได้รับชัยชนะในที่สุด ถ้าจะว่าไปแล้วเมืองแถง หรือเมืองเดียนเบียนฟูนี้ ทางทิศตะวันตกอยู่ไม่ * * * งจากเมืองพงสาลีของประเทศลาวเท่าใดนัก ระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร ส่วนทางทิศใต้อยู่ * * * งจากเมืองหลวงพระบางของประเทศลาวระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร


ส่วนดินแดนเวียดนามซึ่งมีอาณาเขตติดต่อเมืองแถง ว่าตามแผนที่ทางทิศใต้จดตำบลบางเคียง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดตำบลโก * * *  นี่เป็นเค้าโครงอาณาบริเวณเมืองแถงในประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ท่านที่ประสงค์จะเดินทางจากประเทศไทยไปเมืองแถงหรือเมืองเดียนเบียนฟูนั้น เบื้องต้นจะต้องมีหนังสือเดินทาง มีเงินสักก้อนหนึ่งตีตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-ฮานอย ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียดนามเหนือ แต่เมืองหลวงในปัจจุบันคือ เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ อยู่ทางใต้ของเวียดนาม ค่าตั๋วเดินทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ฮานอย ถ้าเป็นพระภิกษุ ไป-กลับ ราคา 7,000 บาท (พ.ศ.2538) ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงเศษ เมื่อไปถึงฮานอยแล้วพักที่โรงแรม จากนั้นตอนเช้าจะเหมารถไปเมืองเดียนเบียนฟู โดยราคาค่าเช่ารถตู้ไม่แพงนัก จากฮานอย ผ่านเมืองฮาไต ผ่านเมืองวินฟู ผ่านเมืองไบ ผ่านเมืองเลาไก เข้าเขตไลเจา ถึงเมืองแถง หรือเมืองเดียนฟูใช้เวลาเดินทางกว่า 6 ชั่วโมง หรือถ้าเดินทางไปโดยบริษัททัวร์เครื่องบินจะเสียค่าบริการ 11,500 บาท ระยะเดินทางจากกรุงเทพ-ฮานอย-เว้-ดานัง-โฮจิมินห์ซิตี้-กรุงเทพ ไปไม่ถึงเดียนเบียนฟู
            ข้อสันนิษฐาน เกี่ยวกับ คำว่า “โซ่ง”
ที่เรียกว่าโซ่ง สันนิษฐานว่า น่าจะเรียกตามเนื้อผ้าที่นุ่งห่ม เพราะชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ คำว่า โซ่ง แผลงมาจากคำว่า ส้วง ซึ่งแปลว่ากางเกง ดังนั้น โซ่งดำ จึงหมายถึง ชาวผู้ไทยที่นุ่งกางเกงสีดำ ต่อมาคำว่า ดำ หายไป จึงเหลือแต่คำว่าโซ่ง ในหนังสือ สารานุกรมไทย (หน้า 6787) กล่าวถึง ลาวโซ่ง โดยเติมคำว่า ลาว ไปข้างหน้านั้นสันนิษฐานได้สองทาง คือ 1). คงเป็นเพราะคนไทยเหล่านี้ ได้อพยพมาจากดินแดนส่วนหนึ่งติดต่อกับอาณาเขตประเทศลาวและมีขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับคนในอาณาจักรลาว จึงเรียกว่า ลาวโซ่ง 2).คงเกิดจากความนิยมเรียกชื่อคนในสมัยนั้น มักจะเรียกผู้ที่จากถิ่นอื่น อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ว่า ลาว ดังเช่น ลาวเวียง ลาวพวน เป็นต้น ไทยโซ่งเมื่อได้อพยพมาอยู่ที่เพชรบุรี จึงพลอยได้รับการเรียกชื่อว่า ลาว ไปด้วย
              อีกประการหนึ่ง ที่เรียกชื่อว่า ไทยดำ นั้นเพราะคนไทยเหล่านี้ชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ แต่โดยแท้จริงแล้วคนไทยเหล่านี้มีผิวขาว คล้ายคนจีน ภาษาพูดก็ไม่แปร่งจากภาษาลาวเท่าใด (เพราะฉะนั้นนักเขียนรุ่นใหม่ จึงเรียกชาวไทยโซ่งเหล่านี้ แบบติดตลก ว่า เจ๊กปนลาว หรือ จ.ป.ล.) หลวงวิจิตรวาทการ ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือ ชนชาติไทย ว่า ไทยดำมีลักษณะเป็นเผ่าไทยแท้มากที่สุด เพราะส่วนใหญ่แล้วคนไทยเหล่านี้ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้มากที่สุด และอารยธรรมภายนอกแทรกซึมเข้าไปผสมได้ยาก เพราะคนไทยเหล่านี้ไม่ค่อยได้ติดต่อกับบุคคลภายนอกและได้แต่งงานกับวงศ์วานของพวกตนเป็นส่วนใหญ่ สิ่งของต่างๆ ที่จำเป็นต้องกินต้องใช้ก็ผลิตขึ้นเอง นับแต่การทำนา ทอผ้า สีข้าว ทำเครื่องจักรสานใช้เอง เป็นต้น
        อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง (ของผู้เขียนเอง) คำว่า โซ่ง มีชื่อพ้องกับ โซ่ง แห่งราชวงศ์โซ่ง หรือ ส่ง หรือ ซ้อง หรือ น่ำซ้อง ในประเทศจีน ดังข้อความจากประวัติย่อแห่งราชวงศ์จีน ต่อไปนี้ว่า “ หลังสมัยสามก๊ก 770 ปี หรือหลังสมัยกษัตริย์ผู้สร้างกำแพงจีน คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ 1,286 ปี เตียงคงเอี๊ยง หรือ เจ้ากวงอิ้น ได้กำจัดพระเจ้าเกียงตี่ วงศ์เอ่าจิว หรือราชวงศ์โจว แล้วขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 1503 ทรงพระนามว่า ส่งไท้โจ๊วฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โซ่ง แล้วสร้างนครหลวงใหม่ ที่เมืองไคเฟง หรือไคฟอง ในมณฑลฮูนาน ราชวงศ์นี้เองไทยต้องพ่ายแพ้แก่จีนเมื่อ พ.ศ.1596 ณ กวางนานฟู เดิมมีชื่อเป็นไทย แต่บัดนี้ไม่ปรากฏนับว่าราชอาณาจักรน่านเจ้าถูกร่นเส้นเขตแดนที่เป็นเขตของมณฑลกวางซีและไกวเจา ตั้งแต่นั้นเข้ามา พ.ศ.1670 พวกตาด (โบตาตา หรือเฉียงนู้) ขับไล่ราชวงศ์โซ่งเตลิดจากเมืองไคเฟงราชธานีข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงลงมาตั้งเมืองหลวงที่เมืองฮั่วจิว หรือ หางโจ อยู่ริมทะเลสาบในมณฑลซีเกียง มาถึง พ.ศ. 1819 ราชวงศ์โซ่ง ถูกกองทัพเยงกิสข่าน ขับไล่ออกจากประเทศจีน เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โซ่งในประเทศจีน ตั้งแต่นั้นมา ราชวงศ์โซ่งมีอายุครองเมืองจีน 316 ปี
ชาวไทยโซ่งเป็นลาวหรือไทย
           ในข้อนี้ มีหลักฐานปรากฏชัดในหนังสือ เจ้าชีวิต (หน้า 141) บทนิพนธ์ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ความว่า “เมื่อคราวที่เจ้าผู้ครองอาณาจักรเวียงจันทร์ทูลขอพลเมืองที่เป็นลูกหลานของไทยดำซึ่งถูกกวาดต้อนมาสู่ประเทศสยามในปีพ.ศ.2321 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คืนไปเมืองลาว แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงยืนยันว่า พลเมืองเหล่านี้เป็นไทยมาแต่ดั้งเดิม เพิ่งจะถูกกวาดต้อนไปทางด้านลาวภายหลัง จึงไม่ทรงยอมคืนให้” อีกประการหนึ่ง มีหลักฐานปรากฏชัดในหนังสือพงศาวดารไทยว่า “ โซ่ง เป็นคนไทยแท้ เพราะมีแซ่ หรือนามสกุล ใช้มาดั้งเดิมตามแบบชาวจีน ที่พระเจ้าฟูฮี หรือ ฟูฮีสีฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์ของจีนครองเมืองเชนสี ตอนเหนือของแม่น้ำฮวงโห และแม่น้ำแยงซีเกียง ได้จัดแบ่งชาวจีนให้มีแซ่เป็นครั้งแรกก่อนพุทธศักราช 2,373 ปี หรือ ราว 4,800 ปีเศษมาแล้ว ส่วนชาวลาวแต่ดั้งเดิมไม่มีนามสกุลใช้กัน จึงเอาเชื้อชาติของลาวตั้งเป็นชื่อของประเทศตนว่าประเทศลาว

จาวไตดำ หรือ จาวไตโซ่ง ในดินแดนสยาม
จาวไตโซ่ง นับได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ที่เขาเรียกกันติดปากว่าคนลาว หรือผู้ลาว ในปัจจุบันนี้ได้กระจาย แยกย้ายกันไปทำมาหากินตามใจชอบ ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทย ในจังหวัดเพชรบุรี ที่อำเภอเขาย้อย ตำบลเขาย้อย หนองปรง ทับคาง ห้วยท่าช้าง หนองชุมพล ที่อำเภอเมือง ตำบลวังตะโก เวียงคอย สะพานยี่หน ที่อำเภอชะอำ อำเภอบ้านแหลม ทุ่งเฟื้อ บางครก อำเภอท่ายาง บ้านแม่ประจันต์ บ้านเขากระจิว อำเภอบ้านลาด ห้วยข้อง บ้านกวย ในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่อำเภออู่ทอง ตำบลบ้านดอน สระยายโสม หนองโอ่ง ดอนมะเกลือ ที่อำเภอสองพี่น้อง มีหมู่บ้านหนองงาน หมู่บ้านดอนมะนาว หมู่บ้านลาดมะขาม ตำบลบ้านโข้ง ที่อำเภอเมือง ตำบลบางกุ้ง หมู่บ้านบางหมัน และที่อำเภอบางปลาม้า ในจังหวัดราชบุรี ที่อำเภอจอมบึง ตำบลจอมบึงหมู่บ้านตลาดควาย ที่อำเภอดำเนินสะดวก ตำบลดอนคลัง หมู่บ้านบัวงาม ที่อำเภอบางแพ ตำบลดอนคา หมู่บ้านตากแดด และที่อำเภอปากท่อ ในจังหวัดนครปฐม ที่อำเภอสามพราน ตำบลตลาดจินดา ที่อำเภอบางเลน หมู่บ้านเกาะแรต บ้านดอนขมิ้น บ้านหัวทราย ไผ่หูช้าง บ้านไผ่ คอกเนื้อ ที่อำเภอกำแพงแสน บ้านดอนเตาอิฐ บ้านสระ บ้านยาง บ้านดอนทอง ไผ่คอย ไผ่โทน ไผ่เกาะ ที่อำเภอดอนตูม บ้านแหลมกระเจา บ้านหัวถนน และที่อำเภอเมือง บ้านดอนขนาก นอกจากนี้ยังอยู่ในอีกหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพร และสุราษฏร์ธานี ไม่ว่าชาวโซ่งจะมาจากถิ่นใด มีความเป็นมาอย่างไร จะเป็นคนลาวหรือคนไทยก็ตาม แต่ชาวโซ่ง ก็ยังมีภาษาพูด อักษรหนังสือ วัฒนธรรมประเพณี เครื่องแต่งกาย ซึ่งจาวโซ่งยังคงรักษาไว้ให้อยู่คู่กับดินแดนสยาม สืบสายภาพลักษณ์นับจากบรรพบุรุษมาจนถึงทุกวันนี้
                                เพราะเราไม่เคยเป็นขี้ข้าใคร
                                เป็นชาวผู้ไทยที่มีอิสระเสรี
                                มีวัฒนธรรมประเพณี
                                 ยากที่จะมีผู้ใดมาลบล้าง
                                 ทั้งโดยเจตนาหรือว่ามีความด้อยทางวิชาการ
                                 หรือมีความเข้าใจพื้นฐานที่คลาดเคลื่อน
                                 ที่จะทำให้ประวัติจาวโซ่งไตเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์
                               แต่ยังคงสามารถดำรงอยู่คู่กับดินแดนสยามไปชั่วกัลปาวสาน

และก่อนที่จะจบเรื่องราวจาวไตโซ่งในดินแดนสยาม ณ โอกาสนี้ อาตมาภาพขอฝากบทประพันธ์คำกลอนเป็นอนุสรณ์เตือนใจจาวไตโซ่งไว้ ณ ที่นี้ว่า
                               “อันแดนดินถิ่นไทยเขตไพศาล
                                เป็นสถานที่เรามาอยู่อาศัย
                                แผ่นดินทองของปู่ย่าและตายาย
                                ถิ่นเกิดกายจาวไตโซ่งยืนยงมา
                                จึงขอเตือนเพื่อเผ่าจาวไตโซ่ง
                                 อย่าลืมวงศ์หมู่เฮาเผ่าพงศา
                                ทั้งถิ่นฐานบ้านช่องท้องทุ่งทา
                                อย่าหมิ่นว่าไตโซ่งเผ่าพงศ์ทราม
                                แม้ผู้ใดใจกระด้างถากถางญาติ
                                ว่ามีชาติต้อยต่ำซ้ำเหยียดหยาม
                                ใจผู้นั้นกักขฬะแสน * * *  
                                ถ้าไม่สำนึกบ้างช่างน่าอาย
                                โซ่งไม่ลืมหมู่เฮาจาวไตโซ่ง
                                 เทอดเผ่าพงศ์วงศาจารึกไว้
                                 เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาติโซ่งไทย
                                 ผู้นั้นไซร้น่าสรรเสริญ เจริญพร”


ที่มา : พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
ป.ธ.๙ พ.ม.,พธ.บ.(ครุศาสตร์). M.A.(English)
รวบรวมและพิมพ์เป็นวิทยาทาน ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๘


อ้างอิงจาก : หนังสือมูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย :10 ถนนสระแก้ว ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม ,9 เมษายน 2548

คนรักถิ่นเกิด

เขียนโดย   คุณ
วันที่ 14 ม.ค. 2553 เวลา 00.29 น. [ IP : 202.176.164.253 ]
ประวัติความเป็นมาไทยทรงดำ




ประวัติความเป็นมาไทยทรงดำ
กลุ่มชนชาวไทดำ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ดังกล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองไลว่า “ เมืองที่พวกผู้ไทดำอยู่นั้น คือเมืองแถงหนึ่ง เมืองควายหนึ่ง เมืองตุงหนึ่ง เมืองม่วยหนึ่ง เมืองลาหนึ่ง เมืองโมะหนึ่ง เมืองหวัดหนึ่ง เมืองซางหนึ่ง รวมเป็น 8 เมือง เมืองผู้ไทขาว 4 เมือง ผู้ไทดำ 8 เมืองเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่าเมืองสิบสองผู้ไท แต่บัดนี้เรียก สิบสองจุไท ”
                  (อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.promma.ac.th/supaporn/unit5/p3_1_1.htm )
เขตสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ในเวียดนามภาคเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของ ไทดำ ไทแดง และไทขาว เมื่อ ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนาม ได้เรียกชนเผ่าที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำดำว่า ไทดำที่เรียกว่าไทดำ เพราะชนดังกล่าวนิยมสวมเสื้อผ้าสีดำซึ่งย้อมด้วยต้นห้อมหรือคราม แตกต่างกับชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียงเช่น ไทขาวที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าสีขาว และไทแดงที่ชอบใช้ผ้าสีแดงขลิบตกแต่งชายเสื้อ


ชาวไทยดำอยู่ที่เมืองแถงหรือแถน แต่เดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว (แคว้นล้านช้าง) ทิศเหนือติดกับตอนใต้ของประเทศจีน

การอพยพและการตั้งรกรากในไทย ชาวไทดำอพยพเข้ามาตั้งรกรากในไทยถึง 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีที่โปรดให้ไปตี เมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. 2321 ดังได้กล่าวไว้ในประวัติชาติไทยว่า "แล้วปีรุ่งขึ้นโปรด ฯ ให้ยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง ไปตีเมืองทัน เมืองม่วย เมืองทั้ง 2 นี้เป็นเมืองของไทซ่งดำ ตั้งอยู่ในเขตแดนญวนเหนือ แล้วพาครัวไทเวียง ไทดำ ลงมากรุงธนบุรี ในเดือนยี่ ไทซ่งดำให้ไปอยู่เพชรบุรี " ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2378 ก็ได้นำครอบครัวชาวไทดำเข้ามาอยู่ในไทยอีก ดังบันทึกของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีกล่าวไว้ เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2430 ไว้ว่า “ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาธรรมา ฯ ยกกองทัพขึ้นมาเมืองถึงเมืองแถง จัดราชการเรียบร้อยแล้วได้เอาครัวเมืองแถงและสิบสองจุไทซึ่งเป็นไทดำลงมากรุงเทพ ฯ เป็นอันมาก เพราะขืนไว้จะเกิดการยุ่งยากแก่ทางราชการขึ้นอีกครั้ง แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้พวกไทดำเหล่านั้น ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรี จนได้ชื่อว่า ลาวซ่ง   จากหลักฐานการอพยพเข้ามาในไทยทั้งสองครั้ง แสดงให้เห็นว่าไทดำหรือไทยทรงดำ มาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรกและจากคำบอกเล่าจากชาวไทยทรงดำเอง ก็บรรยายว่า เดินอพยพมาจากถิ่นฐานเดิมโดยทางเรือ มาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม ซึ่งเป็นบ้านชายทะเล ชาวไทยทรงดำไม่ชอบภูมิประเทศแถบนั้น จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาเรื่อย ๆ จนถึงแถบอำเภอเขาย้อย ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นป่าเขาเหมือนกับถิ่นฐานเดิมจึงได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ต่อมาชาวไทยทรงดำก็ได้ย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินในที่อื่นๆ เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร ชุมพร และสุราษฎร์ธานี แต่ชาวไทยทรงดำในจังหวัดต่าง ๆ เหล่านั้นจะบอกที่มาเป็นแหล่งเดียวกันว่า มาจากจังหวัดเพชรบุรี

....................................................................................................................



สารานุกรมไทยดำล้ำค่าของกลุ่มนักศึกษา โครงการเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน กล่าวถึงไทยดำไว้ว่า ไทยดำหรือไตดำ (Tai Dam, Black Tai) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ผู้ไทยดำ ไทยทรงดำ โซ่ง ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง เรียกอย่างไรคงไม่ผิด เพราะเป็นที่เข้าใจถึงกลุ่มชนเดียวกัน กลุ่มชนชาวไทยดำมีชื่อเรียกตนเองว่า "ไต" - ผู้ไต - ผู้ไตดำ (หรือไทยดำ)

ความหมายของคำว่า"ไต" คือกลุ่มชาติพันธุ์คนไทยสาขาหนึ่งที่มีความเป็นอิสระ คำว่า "ดำ" หมายถึงการแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มสีดำ ชื่อเรียกขานในนาม "ไทยดำ" จึงมีความหมายโดยรวม ว่ากลุ่มชาติพันธุ์คนไทยสาขาหนึ่งในบรรดาหลายชนเผ่า ที่แต่งกายด้วยสีดำนั่นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยดำด้วย ไทยดำได้ถูกอพยพเข้าสู่ดินแดนของประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ใน พ.ศ.2322 เมื่อกองทัพไทยไปตีเวียงจันทน์ แล้วกวาดต้อนไทยดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี

ต่อมาได้กวาดต้อนเข้ามาเพิ่มเติมอีก ในสมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ.2335 และสมัยรัชกาลที่ 3 ใน พ.ศ.2381 ก่อนจะย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณหนองปรงในปัจจุบัน และถือว่าแผ่นดินหนองปรงนี้ คือบ้านเกิดเมืองนอนของชาวไทยดำ มีการสืบเชื้อสายมาหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน และได้กระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ในสปป.ลาว ไทดำได้อพยพเข้าสู่หลวงน้ำทาในปี พศ.2438 เพราะเกิดศึกสงครามแย่งชิงอำนาจกันระหว่างบรรดาหัวหน้าของไทดำกลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในหลวงน้ำทาที่บ้านปุ่งบ้านทุ่งดี บ้านทุ่งอ้ม บ้านน้ำแง้นและบ้านทุ่งใจใต้ ต่อมาเกิดความไม่สงบในสิบสองจุไทขึ้นอีก เนื่องจากศึกฮ่อซึ่งเป็นพวกกบฏใต้เผงที่ถูกทางการจีนปราบปรามแตกหนีเข้ามาปล้นสะดม และก่อกวนอยู่ในเขตสิบสองจุไท ทำให้ชนเผ่าไทดำอพยพจากเมืองสะกบและเมืองวา แขวงไลเจา เข้าตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปุ่งบ้านนาลือและบ้านใหม่ ในปี พ.ศ.2439 เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้กระจายกันออกไปตั้งหมู่บ้านอยู่ทั่วเขตทุ่งราบหลวงน้ำทา ของสปป.ลาว


ชาวไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง ซึ่งมีบรรพบุรุษและถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่เดียนเบียนฟู ประเทศเวียตนาม ย้ายเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในแถบเมืองเพชรบุรี เป็นที่แรกในประเทศไทย เมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว กลุ่มที่ย้ายมาอยู่ในเมืองไทยนี้เป็นกลุ่มที่อาศัย อยู่ในประเทศลาว คนไทยแต่ไหนแต่ไรมาจึงเรียกชนกลุ่มนี้โดยใช้คำนำหน้าว่า “ชาวลาว” ซึ่งที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่ามาจาก “ไทสง” อันเป็นภาษาในสิบสองจุไท หมายถึงคนที่อาศัย ตามป่าเขา ต่อมาเพี้ยนเป็น ไทยโซ่ง แต่บ้างก็ว่าน่าจะเป็น ซ่วง ซึ่งมาจากคำว่า “ซ่วงก้อม” อันเป็นคำเรียกกางเกงผู้ชาย (มีลักษณะขายาวแคบ สีดำ) จึงเรียกกันว่า “ลาวซ่วงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ภายหลังด้วยเหตุผลทางการปกครอง จึงเรียกว่า “ไทยโซ่ง” หรือ “ไทยซ่วงดำ” และ “ไทยทรงดำ”
แต่สำหรับเจ้าของวัฒนธรรมพึงพอใจที่จะให้ใคร ๆ เรียกว่า “ไทยโซ่ง” หรือ “ไทยทรงดำ” มากกว่า เพราะ มีความรู้สึกผูกพันและกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในความเป็นไทย

คนไทยดำมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ภาษาไทดำจัดอยู่ในตระ * * * ลภาษาไท (Tai Language-Family) กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาลาว สำเนียงพูดของคนไทยดำแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปบ้างแต่ก็ไม่มาก ลักษณะตัวอักษรมีความสวยงามคล้ายกับอักษรลาวและอักษรไทยบางตัว

ชาวไทดำมีความเชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม 2 ตระ * * * ลคือ ตระ * * * ลผีผู้ท้าวที่สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นเจ้านาย ชนชั้นปกครอง และตระ * * * ลผีผู้น้อย สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นสามัญ ชาวไทดำนับถือผีและมีการบวงสรวงผีเป็นประจำ โดยจะทำ "กะล่อหอง" เอาไว้ที่มุมหนึ่งในบ้านเพื่อใช้เป็นที่เซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษ สำหรับในการประกอบพิธีกรรมไทดำจะถือว่าผีผู้ท้าวนั้นมีศักดิ์สูงกว่าผีผู้น้อย ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพยำเกรง แต่สำหรับการดำเนินชีวิตนั้นทั้งสองตระ * * * ลสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเสมอภาค

การอพยพของชาวไทดำ (ผศ.มนู อุดมเวช แห่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี บรรยายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 เวลา 13.30-15.30 น. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรจัดการบรรยายเรื่อง “ประวัติศาสตร์ไทดำในประเทศไทย”การบรรยายครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการวิจัย “ประวัติศาสตร์ชาวไทดำในประเทศไทย” ของ ผศ.มนู ซึ่งได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวไทดำในประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนไทดำ โดยเน้นช่วงเวลาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึง พ.ศ.2540 วิธีการศึกษาใช้หลักฐานเอกสารและการสัมภาษณ์ประกอบกัน)

การอพยพของชาวไทดำ
            บรรพบุรุษของชาวไทดำในประเทศไทย ส่วนใหญ่เข้ามาอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ โดยเข้ามาด้วยอำนาจบังคับของกองทัพสยาม ที่กวาดต้อนชาวไทดำมาไว้ที่เพชรบุรี 3 ครั้ง
           ในช่วง พ.ศ.2350-2400 ชาวไทดำได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในจังหวัดเพชรบุรีก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มการอพยพไปอยู่ในพื้นที่อื่น กล่าวคือ ในช่วงปี พ.ศ.2400 มีการอพยพไปอยู่ที่สุพรรณบุรี, ในปี พ.ศ.2420 มีการอพยพไปทางนครปฐม ต่อมาในราว พ.ศ.2440 มีการอพยพครั้งใหญ่จากเพชรบุรีไปอยู่ที่ชุมพร ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นครสวรรค์ และในช่วง พ.ศ.2460 มีการอพยพใหญ่อีกครั้งจากนครปฐม สุพรรณบุรี และเพชรบุรี ไปยังนครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก ส่วนในช่วง พ.ศ.2469-2475 มีการอพยพเป็นครั้งคราว ไปสุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก กาญจนบุรี นครปฐม นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีการอพยพข้ามมาจากประเทศลาวเข้ามาทางจังหวัดเลยด้วย
            จากการวิจัยพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวไทดำอพยพ คือ ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและภัยแล้ง ชาวไทดำจำนวนมากอพยพจากภูมิลำเนาเดิมเพื่อไปหาที่ดินทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม โดยไม่คำนึงถึงปัญหาความ * * * งไกลจากเส้นทางคมนาคมหรือภูมิลำเนาเดิม
ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีหลักฐานหรือบันทึกของรัฐที่แสดงถึงการรับรู้เรื่องราวการอพยพเนื่องจากความทุกข์ยากของชาวไทดำเลย ทั้งที่เป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานนับร้อยปี แสดงให้เห็นว่ารัฐขาดการเอาใจใส่ต่อคนกลุ่มนี้

เศรษฐกิจของชุมชนไทดำ
             เดิมชุมชนไทดำเป็นชุมชนพึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจ ทำนาเป็นอาชีพหลัก แม้จะอพยพไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ชาวไทดำก็ยังคงทำนาอยู่ แต่อาจเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชอย่างอื่นนอกเหนือจากข้าว ที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าชาวไทดำจะอพยพไปอยู่ในที่ดินที่ * * * งไกลความเจริญออกไปเรื่อยๆ ทำให้ได้รับความยากลำบากเนื่องจากอยู่ * * * งไกลเส้นทางคมนาคมและตลาด วิธีการได้มาซึ่งที่ดินใหม่ของผู้อพยพชาวไทดำ มีตั้งแต่การซื้อด้วยทุนเดิม ซื้อด้วยทุนที่สะสมอดออมขึ้นใหม่ แลกด้วยวัตถุสิ่งของต่างๆ ไปจนถึงการหักร้างถางพง จับจองที่ดินที่ยังไม่มีเจ้าของ

             ชาวไทดำนิยมผลิตเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ด้วยตนเอง งานหัตถกรรมที่โดดเด่นคือ การผลิตเสื้อผ้า ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปลูกพืชเลี้ยงไหมเพื่อผลิตเส้นใยและทอผ้าเอง กล่าวได้ว่างานผลิตเสื้อผ้านั้นเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทดำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกิจกรรมการผลิตเสื้อผ้าของชาวไทดำเริ่มจางหายไป เนื่องจากมีเสื้อผ้าราคาถูกจากโรงงานเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ชาวไทดำยังสนใจประกอบอาชีพอื่นๆ นอกภาคเกษตรมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้น่าจะเป็นอิทธิพลของการศึกษาและการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น

ปัจจัยพื้นฐานของชีวิตไทดำ
              ชาวไทดำโดยทั่วไป มีความผูกพันกับเครือญาติและชาวไทดำด้วยกันเองค่อนข้างสูง วิถีชีวิตของชาวไทดำในรอบปีมีระบบที่แน่นอน เช่น เดือนอ้ายเป็นฤดูเก็บเกี่ยว, เดือน 4-5 ว่าง, เดือน 6 เตรียมการเพาะปลูก, เดือน 7-12 ทำนา
              ชาวไทดำมีภาษาของตนเอง ซึ่งมีศัพท์แสงแตกต่างจากภาษาไทยภาคกลางมาก ทั้งยังมีตัวอักษรของตนเอง อันเป็นสมบัติเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้กันแถบลุ่มน้ำแดง-ลุ่มน้ำดำในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันภาษาเฉพาะของไทดำกำลังถดถอย โดยเฉพาะการอ่าน-เขียนที่เริ่มไม่ค่อยมีผู้รู้แล้ว


ที่อยู่อาศัยของชาวไทดำ

          เป็นเรือนเครื่องผูก มีขดกุดบนหลังคาเหนือจั่ว มุงแฝกหรือหญ้าคา ใต้ถุนสูง ส่วนเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็ผลิตเอง โดยใช้ไม้ไผ่รวกเป็นหลัก
           อาหารการกิน ชาวไทดำนิยมรับประทานข้าวเหนียวกับปลา ซึ่งมีการนำมาแปรรูปแบบต่างๆ เช่น ปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมดื่มเหล้ากันมาก
            เครื่องนุ่งห่ม เดิมชาวไทดำจะผลิตเสื้อผ้าเอง มีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าใช้เอง การแต่งกายในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันบ้าง เครื่องแต่งกายหลักคือ “เสื้อฮี” ซึ่งเป็นเสื้อแขนสั้น และโพกผ้าเปียว นอกจากนี้ผู้หญิงไทดำในอดีตยังแต่งผมด้วยการ “ปั้นเกล้า” ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น แต่ปัจจุบันมีแต่ผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่ยังปั้นเกล้าอยู่ (มีการสาธิตวิธีการปั้นเกล้าโดยผู้หญิงไทดำให้ชมด้วย) ส่วนการทอผ้า ชาวไทดำก็เลิกทอมาตั้งแต่ พ.ศ.2490-2500 เป็นต้นมา

ปัจจัยระดับสูงของชีวิตไทดำ
           ปัจจัยระดับสูงที่แสดงถึงความเป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมเฉพาะของชาวไทดำ ได้แก่
การศึกษาและอักษร สมัยก่อนชาวไทดำได้รับการศึกษาน้อยมาก เพราะยากจน และโรงเรียนตั้งอยู่ * * * งไกลจากหมู่บ้าน ชาวไทดำมีอักษรบันทึกวัฒนธรรม เช่นที่ปรากฏใน “คำขับเขยบอกทาง” (เพื่อบอกทางไปเมืองแถงแก่วิญญาณ), ขับขึ้นบ้านใหม่ ความรู้ต่างๆ มีการถ่ายทอดกันในครอบครัว แต่ปัจจุบันผู้ที่อ่านอักษรไทดำได้กำลังหมดไป
          ดนตรี การขับร้อง และการละเล่น ใช้แคนและการปรบมือเป็นพื้นฐาน มีเพลงสุดสะแนน เวียง พู่จำดอก และเกริงสร้อย ลีลาแคนมีทั้งแคนแล่น และแคนเดิน การ “ขับ” ใช้ในโอกาสรื่นเริง “ว่า” เป็นการร่ายกึ่งมีทำนอง ใช้ในพิธีกรรม ในวัฒนธรรมของชาวไทดำนั้น ดนตรี การขับร้อง และการละเล่นจะปะปนผสมผสานกันอยู่มากใน “อิ้นกอน” ช่วงเดือน 5
การหาคู่ครอง ตามแบบแผนเดิม ชาวไทดำมักหาคู่ครองด้วยการไป “อิ้นกอน” ในเดือน 5 ซึ่งเป็นกระบวนการที่ฝ่ายชายจะไปเล่นลูกช่วงตามหมู่บ้านต่างๆ ที่มีหญิงสาวคอยเล่นด้วย โดยฝ่ายชายมักจะไปค้างแรมคืนต่างหมู่บ้านไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งเดือน 5 นอกจากนี้ ชายและหญิงไทดำยังมีโอกาสพบปะกันใน “ข่วง” (ลานบ้าน) อันเป็นที่ตำข้าว ปั่นด้าย ฯลฯ ของบ้านที่มีลูกสาว ซึ่งเปิดโอกาสให้ฝ่ายชายไปคุยได้ หากรักชอบกันก็จะนำไปสู่การแต่งงานในที่สุด
       ศาสนา การนับถือผีเป็นเรื่องสำคัญตามประเพณีไทดำ โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษ ความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษนั้นเป็นสาระสำคัญที่นำไปสู่ประเพณีและพิธีกรรมอื่นๆ ในวัฒนธรรมชาวไทดำ เช่น ประเพณี “ปาดตง” และพิธี “เสนเฮือน” (เซ่นเรือน) ซึ่งกระทำทุก 3 ปี หรือ 5 ปี นอกจากนี้ ทุกบ้านยังมี “กะล้อห่อง” และมีการ “หน็องก้อ” ทุกครั้งที่ดื่มเหล้า คือให้ผีบรรพบุรุษดื่มก่อน อาจกล่าวได้ว่า ความผูกพันกับบรรพบุรุษนั้นเป็นแก่นของวัฒนธรรมไทดำเลยทีเดียว
         นอกจากนี้ชาวไทดำยังมีความเชื่อเรื่องขวัญ เมื่อเกิดความเจ็บป่วย จะมีการทำพิธีเรียกขวัญ หรือเสนขวัญ โดยมี “แม่มด” เป็นผู้ทำพิธี ทำหน้าที่ต่ออายุ และแก้ไขการกระทำต่างๆ ที่ผิดผี อันเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วย


ความเปลี่ยนแปลง            ชาวไทดำประกอบอาชีพทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีความถนัดในการทำเกษตร และได้รักษาอาชีพในแนวทางนี้มาตลอด แม้ว่าพื้นที่บางแห่งที่ไม่สะดวกแก่การทำนา จะมีการเปลี่ยนไปทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงไก่บ้างก็ตาม ทั้งนี้ผู้วิจัยมองว่า คุณสมบัติเด่นของชาวไทดำคือ ความสามารถในการเรียนรู้ และความทรหดอดทนต่อความยากลำบาก
ปัจจัยพื้นฐานของชีวิตในชุมชนไทดำ ส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมสมัยใหม่ เช่น เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ปัจจุบันชาวไทดำก็ซื้อหาจากท้องตลาด เนื่องจากราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและแรงงานมากมายไปในการจัดหาวัสดุจากธรรมชาติมาจัดทำขึ้นเอง ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในส่วนนี้ของชาวไทดำกำลังสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย
           ส่วนปัจจัยระดับสูงของวิถีชีวิตไทดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ คือ ความผูกพันที่มีต่อผีบรรพบุรุษนั้น ยังคงดำรงอยู่ในฐานะแก่นของวัฒนธรรมไทดำ กระนั้นก็ตาม บริบทสังคมที่เปลี่ยนไปก็ทำให้วัฒนธรรมบางอย่าง เช่น กระบวนการหาคู่ครอง การเดินทางเพื่อ “อิ้นกอน” ค่อยๆ จางหายไป
          ในช่วงท้ายของการบรรยาย ผู้วิจัยเสนอว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่น่าจะมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทดำในประเทศไทยกับชาวไทดำลุ่มแม่น้ำแท้หรือแม่น้ำดำ ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้านของไทดำ ภาษาและอักษรของไทดำ คติความเชื่อและสัมพันธภาพในชุมชนไทดำ เป็นต้น

อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี

มีกลุ่มชนไทยทรงดำอยู่อย่างหนาแน่น โดยจากรายงานด้านประชากรของอำเภอเขาย้อยมี
      - ไทยทรงดำ 70 %      - ไทย 14 %
      - ลาวเวียง        3 %      - จีน 10 %
      - ลาวพวน        3 %
ไทยทรงดำหรือลาวโซ่งซึ่งจะอาศัยอยู่ในตำบลห้วยท่าช้าง หนองปรง ทับคาง เขาย้อย บางเค็ม หนองชุมพล และหนองชุมพลเหนือ ซึ่งยังมีการอนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ของไทยทรงดำไว้มาก อาทิเช่น
      1. เล่นลูกช่วง (เล่นคอน) หรือรำแคน นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์
      2. การเสนเรือน คือ การทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
      3. การแต่งงาน เป็นประเพณีของไทยทรงดำ มีการแต่งกายชุดใหญ่ของไทยทรงดำ
      4. ประเพณีการทำงานศพ จะทำพิธีแบบไทยทรงดำทุกคน
เยี่ยมเรือนเยือนเหย้าชาวไทยทรงดำไทย มีวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การแต่งกาย ทรงผม ภาษา บ้านเรือน อาหาร และการประกอบ อาชีพ รวมไปถึงความเชื่อที่สืบ ทอดกันมานาน ก่อให้เกิดพิธีกรรมและประเพณีที่น่าสนใจมากมายแม้ในกระแสวัฒนธรรมจากภายนอกที่หลั่งไหลเข้าทดแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวไทยทรงดำ วัฒนธรรมหลายอย่างหาได้สูญสลายไปตามกระแสไม่ แต่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าประทับใจ เช่น ภาษา การแต่งกาย งานประเพณีและการดำรงชีวิตที่สมถะเรียบง่ายแบบดั้งเดิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำพึงพอใจและดำรง รักษา ไว้อย่างภาคภูมิ

ทั้งสองบทความได้เอามาจากเวบไทยทรงดำเพชรบุรีครับ ต้องขอขอบคุณเจ้าของบทความทั้งสองเป็นอย่างสูงครับถ้าชาวพี่น้องลาวโซ่งอยากเข้าไปอ่านหรือชมได้ครับ   จากคนรักถิ่นเกิด                                                      

เขียนโดย   คุณ
วันที่ 14 ม.ค. 2553 เวลา 00.37 น. [ IP : 202.176.164.253 ]
ผมอยากให้ลิ้งค์เวบของไทยทรงดำไว้บ้างก้ดีน่ะครับเพื่อจะได้มีคนเข้าชมเวบของท่านมากๆเพื่อมาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกันผมดีใจที่ท่านให้ความสนใจ ผมอยากเห็นผลงานมากครับ

เขียนโดย   คุณ คนรักถิ่นเกิด
วันที่ 14 ม.ค. 2553 เวลา 00.58 น. [ IP : 202.176.164.253 ]
คราวนี้ ตาสว่างเลยคับ ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ที่ทางคุณ"คนรักถิ่นเกิด"แหมเสียดาย

คนอย่างนี้น่าจะมีมากๆ หรือไม่ก็จับไปขยายพันธุ์เพิ่ม...

ตอนเข้ามาเยี่ยมชมครั้งแรก ยังรู้สึกเสียดาย ว่าใครบ้างนะ จะเอาใจใส่ ดูแล เวบบอดต่างๆ

อยากจะเชิญชวนผู้ที่มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมได้แสดงความคิดเห็นฝากไว้ด้วย

จะได้เป็นกำลังใจให้ซึ่งกันและกันครับ ขออนุญาตCopyข้อมูลข้างบนนี้ไปใช้นะครับ

และขอเวะเวียนมาอ่านอีก นะครับ

เขียนโดย   คุณ สมญา ผกากลิ่น
วันที่ 17 ม.ค. 2553 เวลา 22.54 น. [ IP : 125.24.4.43 ]
..ในนามของทายาทตระ * * * ลโซ่ง(ไทยโซ่งหรือไทยทรงดำ)ต้องกราบขอบพระคุณ...คุณคนรักบ้านเกิดอย่างสูงค่ะที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาดิฉันเคยเข้ามาชมเว็บไซต์ของอบต.ตาสังหลายครั้งแล้วแต่ไม่เห็นว่ามีการพัฒนาหรือว่า update ข่าวสารข้อมูลอะไรก็เลยขี้เกียจแวะเข้ามาชมวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมเยือนรู้สึกดีใจมากที่มีคนคิดเหมือนกันมีสำนึกรักบ้านเกิดเหมือนกันแสดงว่ามีคนที่อยากจะพัฒนาตำบลของเราหรือหมู่บ้านของเราให้เท่าทันที่อื่นที่เค้าพัฒนาไปถึงไหนต่อไหนแล้วค่ะแต่ขาดอะไรรู้ไหมคะ?ความร่วมมือร่วมใจกันค่ะและอีกอย่างนึงนะคะวิสัยทัศน์ของผู้นำชุมชนค่ะอันนี้สำคัญมาก....แม้พวกเราอยากแสดงให้คนภายนอกได้รับรู้ว่าลาวโซ่งอย่างเรามีดีตรงไหนหรือเราภาคภูมิใจอย่างไรที่เกิดมาเป็นลูกหลานลาวโซ่งแต่ท่านไม่นำพาแล้วเราจะตามยังไงคะดิฉันเชื่อว่าลาวโซ่งรุ่นใหม่มีความรู้มีความสามารถแต่ขาดสำนึกเพราะทุกวันนี้ประเพณีหรือประวัติความเป็นมาที่อุตส่าห์ร่ายยาว.........มามันแทบจะไม่หลงเหลือแล้วไม่เชื่อไปแถวๆ ม.9บ้านแหลมย้อย+ปากดง /บ้านเกาะแก้ว..แล้วถามชาวบ้านดูซิว่าจริงไหม...แต่สำหรับดิฉันทุกอย่างที่ซึมซับมามันไม่เคยเลือนลางไปจากสายเลือดเลยค่ะ

เขียนโดย   คุณ ลูกหลานลาวโซ่ง
วันที่ 22 ม.ค. 2553 เวลา 00.51 น. [ IP : 124.122.90.250 ]
ผมต้องขอบคุณ  สมญา    ผกากลิ่น   และ  ลูกหลานลาวโซ่ง   ไว้ณ.ที่นี้อยางสูงครับ นี่แหละครับกำลังลังใจของคนท่องเวบ  ที่ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกันและกัน อย่าคิดน่ะว่าผมไม่คิดเหมือนกับคุณ 2คน ไม่อัพเดท ข่าวสาร นายกไม่ตอบกระทู้ รองก็ไม่ตอบ เจ้าหน้าที่ก็ไม่หาข้อมูลมาตอบเพื่อให้แตกประเด็น ผมรู้น่ะว่านครสวรรค์ไทยทรงดำมีหลายอำเภอ เช่นเก้าเลี้ยว ชุมแสง บรรพต ท่าตะโก ถ้าเวบของ ตาสังอัพเดทดีๆน่ะคนจะเข้ามาเยี่ยมชมมากกว่านี้แน่ครับ อยากให้ฝ่ายบริหารมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล  ที่เห็นๆก็มี 2 ท่านแล้วที่เขาบ่นว่าเวบของอบต.ไม่อัพเดท ไม่มีอะใรใหม่มานำเสนอ ฝ่ายบริหารตื่นจากหลับได้หรือยังครับ ดูๆแล้วก็เป็นจริงเหมือนกับเขาบ่นเลยอ่ะ( ลุกหลานลาวโซ่ง)อย่าท้อเรามาร่วมกันติเขาแล้วให้เขาก่อให้ได้ คุณสมญาผมดีใจครับทีให้กำลังใจกันผมชื่นใจมากครับที่มีคนสนใจกระทู้ผม  ( ภาษาลาวโซ่งวันล่ะ2คำ    อ้าย คือพ่อ  เอมคือแม่  )

เขียนโดย   คุณ คนรักถิ่นเกิด
วันที่ 23 ม.ค. 2553 เวลา 02.22 น. [ IP : 111.84.15.18 ]
โอยยย บ้อลาวเฮาไปก้าล่างเหม็ดเล่ย ย้าอ่างซ้าม้ายน้อยเซาหัวเอาล่ย อนุรักษ์เอาวั้ยแอ้ เนาะ เงียบหยังฮาเล่ยยบ้อคัยบ่อมี้ มาหยามมาฮั่งกำลังจัยเล้ยย

เขียนโดย   คุณ บ้อก๊นมั๊กบ้านเกิดน่ะ มั๊กลาวซ่ง
วันที่ 11 ก.พ. 2553 เวลา 01.58 น. [ IP : 115.67.60.52 ]
เฮาก็มักผู่ลาวโซ่งคือกันเน๊อเฮาเป็นผู่ลาวยู้ พิ-โลกกำลังหาข่อมูลผู่ลาวโซ่งอยู่พอดี  เอ่ยเอ๊ยอันเฮือนน่องก็เป็นผู่ลาวตังเฮือนเลย  น่องจะเอ็ดเวียะส่งอาจารย์เกี่ยวกะประวิตผู่ลาวโซ่งขนาดมูบ้านน่องเป็นผู่ลาวเม็นตังมูบ้านเลยนะบ้านบ่อตอง  อำเภอบางระกำ  เคยงินอิญาเอ่ย

เขียนโดย   คุณ ก๊นสวยบ่อตอง
วันที่ 25 ก.พ. 2553 เวลา 16.38 น. [ IP : 118.174.8.146 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
(1)    2    3    4    ... หน้าสุดท้าย >> 6
 
 
 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 28 พ.ค. 2552
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 084-817-6746
 
 
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10